การจัดการการตลาดแนวใหม่

Custom Search
วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

ทฤษฎีปริมาณเงิน

1. ขอบเขตของทฤษฎีการเงินในสมัยก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 จำกัดอยู่เพียงแต่ทฤษฎีที่อธิบายถึงมูลค่าของเงิน แต่ในสมัยต่อ ๆ มาของเขตของทฤษฎีการเงินมีความกว้างขวางมากขึ้นกว่าเดิม โดยเป็นการวิเคราะห์ระบบเศรษฐกิจส่วนรวมทั้งระบบ ทฤษฎีการเงินได้มีวิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วง เวลาด้วยกัน
          2. ทฤษฎีปริมาณเงินมีวิวัฒนาการมาจากทฤษฎีปริมาณเงินอย่างหยาบ ๆ ต่อมาฟิชเชอร์ได้สร้างสมการแลกเปลี่ยนขึ้น สมการแลกเปลี่ยนยังอาจแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ รูปแบบของการซื้อขายแลกเปลี่ยน และรูปแบบของรายได้ นักเศรษฐศาสตร์สำนักเคมบริดจ์ได้พัฒนาทฤษฎีปริมาณเงินในรูปแบบความต้องการถือเงินสดขึ้นมา ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับทฤษฎีปริมาณเงินของฟิชเชอร์ แต่มีข้อแตกต่างกันอยู่บ้างบางประการ
          3. เราอาจอาศัยทฤษฎีปริมาณเงินของฟิชเชอร์ และทฤษฎีปริมาณเงินของสำนักเคมบริดจ์อธิบายการเปลี่ยนแปลงในระดับราคาสินค้า แต่ไม่ว่าจะพิจารณาโดยอาศัยทฤษฎีใดก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเงินและระดับราคาสินค้าก็เป็นเช่นเดียวกัน
          4. นัยทางนโยบายของทฤษฎีปริมาณเงิน ก็คือการใช้นโยบายการเงินโดยจงใจเป็นสิ่งไม่จำเป็น เพราะกลับจะยิ่งทำให้ระบบเศรษฐกิจขาดเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ระบบเศรษฐกิจประสบกับความไม่มีเสถียรภาพ นโยบายการเงินเป็นนโยบายที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการช่วยทำให้ระบบเศรษฐกิจมีเสถียรภาพ

ขอบเขตและวิวัฒนาการของทฤษฎีการเงิน
          1. นักเศรษฐศาสตร์ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้น คริสต์ศตวรรษที่ 20 เห็นว่าเงินมีบทบาทที่สำคัญ คือเป็นเพียงสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ดังนั้นของเขตของทฤษฎีการเงินในสมัยนั้นจึงจำกัดอยู่เพียงแต่ทฤษฎีที่อธิบายถึงมูลค่าของเงิน นักเศรษฐศาสตร์ในสมัยนั้นมีทรรศนะว่า การเปลี่ยนแปลงในปริมาณเงินไม่สามารถส่งผลกระทบใด ๆ ต่อตัวแปรในภาคเศรษฐกิจจริง
          2. นักเศรษฐศาสตร์ในระยะต่อ ๆ มา เริ่มมองเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงในปริมาณเงินอาจส่งผลกระทบต่อตัวแปรในภาคเศรษฐกิจจริงได้ ดังนั้นขอบเขตของทฤษฎีการเงินในระยะหลัง ๆ จึงกว้างขวางกว่าเดิม โดยเป็นการวิเคราะห์ระบบเศรษฐกิจส่วนรวมทั้งระบบ และศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการเงินและปัจจัยที่มิใช่ปัจจัยทางการเงิน
          3. ทฤษฎีการเงินได้มีวิวัฒนาการและมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเรื่อยมา โดยอาจแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลา คือ
               ช่วงแรก คือระยะเวลาก่อนหน้า ค.ศ. 1929 แนวความคิดในสมัยนั้นเป็นไปในลักษณะที่ว่า เงินมีความหมาย และนโยบายการเงินเป็นนโยบายที่สำคัญในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 
               ช่วงที่สอง คือระยะเวลาจาก ค.ศ. 1930 มาจนถึง ค.ศ. 1930 มาจนถึง ค.ศ. 1960 แนวความคิดเป็นไปในลักษณะที่ว่าเงินและนโยบายการเงินไม่มีความสำคัญเท่าใดนัก
               ช่วงที่สาม คือระยะเวลาจาก ค.ศ. 1960 มาจนถึงปัจจุบัน แนวความคิดในระยะนี้ เริ่มหวนกลับมาใหม่ว่า เงินและนโยบายการเงินเป็นตัวกำหนดที่สำคัญของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

ของเขตของทฤษฎีการเงิน
          ขอบเขตของทฤษฎีการเงินในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 และตันคริสต์ศตวรรษที่ 20 จำกัดอยู่เพียงแค่ทฤษฎีที่อธิบายถึงมูลค่าของเงินหรือทฤษฎีที่อธิบายเกี่ยวกับระดับราคาของสินค้า ทั้งนี้เพราะนักทฤษฎีการเงินสมัยนั้นยังมีทรรศนะว่าเงินทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงในปริมาณเงินก็จะส่งผลกระทบต่อตัวแปรในภาคเศรษฐกิจจริง

วิวัฒนาการของทฤษฎีการเงิน
          1. ไม่จำเป็น เพราะนักทฤษฎีปริมาณเงิน มีข้อสมมุติว่าตลาดสินค้าและตลาดแรงงานเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ราคาสินค้าและค่าแรงย่อมจะปรับตัวเองไปโดยอัตโนมัติให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในปริมาณผลิตผลอยู่แล้ว บทบาทของรัฐบาลจึงเพียงแต่คอยดูแลให้ปริมาณเงินขยายตัวในอัตราที่สอดคล้องกับอัตราขยายตัวของผลผลิตและความต้องการถือเงินในระยะยาว แต่ไม่จำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินโดยจงใจ
          2. "เงินมีความหมาย" หมายความว่า ปริมาณเงินเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ส่วน "เงินไม่มีความหมาย" หมายความว่า เงินเป็นปัจจัยที่มิได้มีความสำคัญเท่าใดนักเมื่อเปรียบเทียบกับปัจจัยอื่น ๆ ในการกำหนดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ดังนั้น นโยบายการเงินจึงเป็นเครื่องมือที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และนโยบายการคลังอาจเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ

ทฤษฎีปริมาณเงินในรูปแบบต่าง ๆ
          1. แนวคิดของทฤษฎีปริมาณเงินอย่างหยาบ ก็คือ ระดับราคาสินค้าจะแปรผันไปโดยตรงและโดยได้สัดส่วนกับปริมาณเงินถ้าสิ่งอื่น ๆ ไม่เปลี่ยนแปลง แต่เนื่องจากในความเป็นจริง สิ่งอื่น ๆ มิได้คงที่ ดังนั้น ทฤษฎีนี้จึงอาจไม่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงเท่าใดนัก
          2. นักทฤษฎีปริมาณเงินในระยะต่อมา และที่สำคัญ คือฟิชเชอร์ได้สร้างสมการแลกเปลี่ยนขึ้นเพื่ออธิบายความเชื่อมโยงระหว่างปริมาณเงินกับกระแสของการใช้จ่ายในรูปของตัวเงิน สมการดังกล่าวนี้เป็นที่รู้จักกันทั่วไปก็คือ MV = PT แต่สมการดังกล่าวเป็นเพียงสิ่งที่เป็นจริงแต่มิใช่ทฤษฎี เพราะทั้งสองด้านของสมการนี้ เป็นสมการมองสิ่ง ๆ เดียวกัน แต่มองไปคนละแบบ ฟิชเชอร์เน้นบทบาทของเงินในฐานะเป็นสือกลางในการแลกเปลี่ยนเพียงอย่างเดียว
          3. สมการแลกเปลี่ยนมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ รูปแบบของรายการซื้อขายแลกเปลี่ยน MV = PT และรูปแบบของรายได้ MVy = PyY จากสมการแลกเปลี่ยนทั้ง 2 รูปแบบนี้ ถ้าจะดัดแปลงให้อยู่ในรูปของทฤษฎีก็อาจกระทำได้ โดยแปลงให้อยู่ในรูป P = MV/T หรือ  Py = MVy/Y ซึ่งเป็นการระบุความสัมพันธ์ระหว่าง P หรือ Py ซึ่งเป็นตัวแปรตามกับตัวแปรอื่นๆ ในสมการซึ่งเป็นตัวแปรอิสระ แต่เนื่องข้อสมมุติของนักทฤษฎีปริมาณเงินที่ให้ V หรือ Vy และ T หรือ y คงที่ ดังนั้นทฤษฎีปริมาณเงินในลักษณะนี้ก็ยังได้ข้อสรุปที่เหมือนทฤษฎีปริมาณเงินอย่างหยาบว่าระดับราคาสินค้าจะแปรผันไปโดยตรงและโดยได้สัดส่วนกันกับปริมาณเงิน
          4. นักเศรษฐศาสตร์สำนักเคมบริดจ์ ได้พัฒนาปริมาณเงินในรูปแบบของความต้องการถือเงินสดขึ้นมา ทฤษฎีปริมาณเงินในรูปแบบนี้มีความคล้ายคลึงกับทฤษฎีปริมาณเงินในรูปแบบของรายการซื้อขายแลกเปลี่ยน แต่รูปแบบของความต้องการถือเงินสด ให้ความสนในต่อปัจจัยที่กำหนดปริมาณเงินที่ประชาชนในสังคมต้องการคือ สำนักเคมบริดจ์มีความเห็นว่าการที่คนเราต้องถือเงินนั้นก็เนื่องมาจากเงินให้บริการในด้านต่าง ๆ หลายด้านแก่ผู้ซื้อมิใช่เฉพาะบริการในด้านเป็นสือกลางในการแลกเปลี่ยน
1. การให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ ธนาคารพาณิชย์มี 4 ประเภท คือ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย (retail bank) ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ (subsidiary) และสาขาของธนาคารต่างประเทศ (branch)

          การกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ พิจารณาจากความเหมาะสมของโครงสร้างผู้ถือหุ้นและแหล่งที่มาของเงินทุน แผนงานและการควบคุมภายใน รวมถึงข้อกำหนดของคุณสมบัติที่จำเป็นและลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหาร และในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นธนาคารต่างประเทศ ต้องได้รับอนุมัติจากผู้กำกับในประเทศของตนให้ทำธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในประเทศอื่นได้

การให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์
          สถาบันการเงินเป็นตัวกลางทางการเงินที่สำคัญที่สุด มีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับ ภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ มีความอ่อนไหวต่อความเสี่ยงและความผันผวน และสามารถส่งผ่านผลกระทบไปยังภาคเศรษฐกิจอื่นได้ ดังนั้นเพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยควรกำกับตรวจสอบสถาบันการเงินอย่างมีประสิทธิภาพด้วยความโปร่งใสและส่งเสริมให้สถาบันการเงินมีธรรมาภิบาลและมีการบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจในการให้ใบอนุญาตการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ซงตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินปี 2546 จัดทำโดยกระทรวงการคลังร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้กำหนดรูปแบบของธนาคารพาณิชย์ ไว้ 4 ประเภท คือ 1) ธนาคารพาณิชย์ 2) ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย 3) ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ และ 4) สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
          ในการพิจารณาให้ใบอนุญาตประกอบการธนาคารพาณิชย์ กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย จะพิจารณาความเหมาะสมของโครงสร้างผู้ถือหุ้น คุณสมบัติของกรรมการและผู้บริหารระดับสูง แผนปฏิบัติการและการควบคุมภายในและประมาณการทางการเงิน ซึ่งรวมถึงเงินกองทุนและ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตมีผู้ถือหุ้นใหญ่หรือบริษัทแม่เป็นธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้กำกับดูแลในประเทศแม่ (Home Country Supervisor) ก่อน โดยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการยื่นขออนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ประเภทต่างๆ ตามแผนพัฒนาระบบ สถาบันการเงิน มีรายละเอียดดังนี้
          1. ธนาคารพาณิชย์
          2. ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย
          3. ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ
          4. สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ

การเคลื่อนย้ายเงินทุน

การที่ระบบการเงินจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้นั้น ต้องมีสถาบันต่าง ๆ มาอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายเงินทุนโดยสถาบันเหล่านั้นคือกลไกที่อยู่ภายใต้ ระบบการเงิน (financial system) ที่เป็นกลไกสำคัญของการเคลื่อนย้ายเงินทุนรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งทุกหน่วยในตลาดการเงินจะทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ (ศุภชัย ศรีสุชาติ, 2547, หน้า 4) โดยสามารถสรุปได้ ดังแสดงในภาพ 1

     จากภาพ 1 โครงสร้างของรูปแบบการเคลื่อนย้ายเงินทุน แสดงให้เห็นทางเลือกในการระดมเงินทุนของภาคเอกชนใน 3 ช่องทาง โดยแต่ละช่องทางจะมีความแตกต่างในเรื่องลักษณะการไหลของเงินทุนจากเจ้าของเงินทุนมาสู่ผู้ต้องการเงินทุน และกระบวนการ เพื่อให้ได้มาซึ่งความต้องการที่ตรงกันจากทั้งสองฝ่าย อันจะทำให้การไหลของเงินทุนเป็นไปอย่างราบรื่น ทั้งนี้ อาจพิจารณาจากภาพได้ว่า ช่องทางที่ (1) และช่องทางที่ (3) เป็นลักษณะของการจัดหาเงินทุนทางตรง ในขณะที่ช่องทางที่ (2) เป็นการจัดหาเงินทุนในทางอ้อม โดยมีรายละเอียด คือ (ศุภชัย ศรีสุชาติ, 2547, หน้า 5-7)

1. การระดมเงินทุนโดยตรงภายในกิจการ เป็นการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลต่าง ๆ ภายในกิจการเอง ซึ่งมิได้มีสถาบันใด ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ตามที่ได้อธิบายไปแล้วในเรื่องการเคลื่อนย้ายเงินทุนภายในกิจการ โดยข้อเสียของการระดมทุนแบบนี้ คือ ปริมาณเงินทุนที่ระดมได้มักไม่มากนักและอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทั้งนี้ ที่มาของเงินทุน ยังเป็นของเจ้าของกิจการเองในส่วนของกำไรสะสมที่กิจการเก็บสะสมไว้

2. การเคลื่อนย้ายเงินทุนผ่านระบบสถาบันการเงิน เป็นการเคลื่อนย้ายเงินทุนทางอ้อม ซึ่งมีความสำคัญมากต่อระบบการเงินไทย คือ การระดมทุนโดยผ่านระบบธนาคารพาณิชย์ หรือการกู้หรือการให้สินเชื่อ ซึ่งมีแนวคิดเบื้องต้นมาจากการต้องการแก้ไขปัญหา ของความต้องการที่ไม่ตรงกันในด้านการระดมทุน ระหว่างผู้มีเงินทุนส่วนเกิน และผู้ขาดแคลนเงินทุน โดยสถาบันการเงินสามารถลดปัญหาเรื่อง จำนวนเงินทุน อัตราผลตอบแทนที่ต้องการจากการลงทุน และระยะเวลาการลงทุนของผู้มีเงินทุนต้องการที่ต่างจากปริมาณเงินทุน ดอกเบี้ย จ่ายคืนเงินกู้ยืม และระยะเวลาที่จะสามารถหาเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยมาใช้คืนให้แก่เจ้าของเงินทุนของผู้ขาดแคลนเงินทุน

     ในกรณีที่หากไม่มีระบบการเงินมารองรับ ต้นทุนในการจัดหาเงินทุนภายใต้ปัญหาของความต้องการที่ไม่ตรงกันในด้านการระดมทุนดังกล่าวข้างต้น ย่อมมีมูลค่าสูง ในที่สุดอาจจะไม่มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนในระบบการเงินดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ สถาบันการเงินจึงก่อตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ระดมเงินออมจากผู้มีเงินทุนส่วนเกินในปัจจุบันจากทั้งระบบการเงิน โดยสัญญาว่าจะนำเงินทุนดังกล่าวมาคืนให้ในอนาคตพร้อมดอกเบี้ย แล้วนำเงินออมที่ระดมได้นั้นมาให้สินเชื่อแก่ธุรกิจในภาคเอกชนที่ต้องการเงินทุนในปัจจุบัน และสัญญาที่จะจ่ายชำระคืนพร้อมทั้งดอกเบี้ยเต็มจำนวนในอนาคต เพื่อให้สถาบันการเงินจ่ายคืนให้แก่เจ้าของเงินทุน ส่วนผลตอบแทนที่สถาบันการเงินได้รับในฐานะที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางของการเคลื่อนย้ายเงินทุน คือ ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก หรือที่นิยมเรียกว่า Spread

     ข้อดีของการเคลื่อนย้ายเงินทุนผ่านระบบสถาบันการเงินนี้ คือ ผู้ขาดแคลนเงินทุนสามารถได้รับเงินทุนตามจำนวนที่ต้องการอย่างครบถ้วน ในเวลาที่เหมาะสมและไม่ยุ่งยากเกินไป แต่มีภาระค่าใช้จ่ายให้กับสถาบันการเงินสูงเพิ่มขึ้น อีกทั้งต้องยินดีให้สถาบันการเงินทำการตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัท ทั้งนี้การที่สถาบันการเงินพยายามที่จะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุนในปริมาณที่สูง ทำให้สถาบันการเงินต้องบริหารเงินทุน ภายใต้ความเสี่ยงทางการเงินและทางธุรกิจอย่างระมัดระวังและมีระดับที่เหมาะสม กับการดำเนินธุรกิจต่อไป เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non Performing Loan--NPL) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่กระทบต่อความเชื่อมั่นในระบบสถาบันการเงิน ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในช่วงปี พ.ศ. 2540

3. การเคลื่อนย้ายเงินทุนผ่านตลาดการเงิน การเคลื่อนย้ายเงินทุนด้วยช่องทางนี้เป็นการเคลื่อนย้ายเงินทุนทางตรง เพราะเป็นการเคลื่อนย้ายของเงินทุนโดยตรงจากเจ้าของเงินทุนสู่เจ้าของกิจการซึ่งต้องการเงินทุนในตลาดการเงิน โดยไม่ต้องผ่านสถาบันการเงิน สิ่งสำคัญของการเคลื่อนย้ายเงินทุนผ่านตลาดการเงินนี้ คือ ทั้งสองฝ่ายจะต้องพึงระลึกอยู่เสมอว่าตนเปรียบเสมือนผู้ซื้อและผู้ขายในตลาดสินค้าทั่วไป แต่มีข้อแตกต่างในประเด็นที่ว่าสินค้าในที่นี้เป็นสินค้าทางการเงิน ที่แลกเปลี่ยนกันในตลาดการเงิน หรือเรียกอีกนัยหนึ่งได้ว่า สินทรัพย์ทางการเงิน (financial asset)

     ข้อดีของการเคลื่อนย้ายเงินทุนผ่านตลาดการเงิน คือ ผู้ขาดแคลนเงินทุนสามารถระดมทุนได้ในปริมาณสูง และยังเป็นการทำธุรกรรมในระบบที่มีความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ ภายใต้การกำกับและดูแลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นต้น โดยตลาดการเงินทำหน้าที่สำคัญในการอำนวยความสะดวก และอาจเป็นสถานที่ (เชิงกายภาพ) หรือระบบที่เอื้ออำนวยให้ผู้ขาดแคลนเงินทุนและผู้มีเงินทุนส่วนเกินมาพบกันและแลกเปลี่ยนความต้องการซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ ในระบบของตลาดการเงินยังสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายรูปแบบซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทตราสารหรือสินทรัพย์ทางการเงินที่มีอยู่ในตลาดการเงิน หรือรูปแบบของการระดมทุน ซึ่งอาจแสดงภาพโดยรวมได้ ดังแสดงในภาพ 2

     ตลาดการเงินในฐานะเป็นตัวกลางทางการเงินที่ช่วยในการเคลื่อนย้ายเงินทุนจากเจ้าของเงินทุนสู่กิจการซึ่งต้องการเงินทุน โดยสามารถแบ่งตลาดการเงินประเภทต่าง ๆ ตามเกณฑ์อายุของสินทรัพย์ทางการเงินที่นำออกขายได้เป็นตลาดเงินและตลาดทุน (ศุภชัย ศรีสุชาติ, 2547, หน้า 8)

      ตลาดเงิน (money market) เป็นแหล่งระดมเงินออมระยะสั้น (ไม่เกิน 1 ปี) แล้วจัดสรรให้กู้ยืมแก่ผู้ต้องการเงินทุน ตลาดเงินยังอาจแยกออกเป็นตลาดเงินของทางการ และตลาดเงินของเอกชน ซึ่งตลาดเงินของทางการได้แก่ ตลาดเงินให้กู้ยืมปกติของธนาคารแห่งประเทศไทย ตลาดซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาล (repurchase market) ส่วนตลาดเงินเอกชนประกอบด้วย การกู้ยืมระหว่างสถาบันการเงิน และตลาดตราสารการพาณิชย์ สถาบันที่อยู่ในตลาดเงินได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และโรงรับจำนำ ส่วนตราสารทางการเงินประกอบด้วย ตั๋วสัญญาใช้เงิน (promissory notes) ตั๋วเงินคลัง (treasury bills) เป็นต้น โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดูแล ตลาดเงินในประเทศไทยนับว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดในภาคการเงิน ทั้งนี้เพราะเป็นแหล่งที่ระดมเงินออมและให้สินเชื่อมากที่สุด

     ตลาดทุน (capital market) เป็นแหล่งระดมเงินออมระยะยาว (เกินกว่า 1 ปี) เพื่อจัดสรรให้กับผู้ต้องการเงินทุนระยะยาว โดยเฉพาะภาคธุรกิจ สถาบันที่อยู่ในตลาดทุนได้แก่ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตราสารทางการเงินหรือหลักทรัพย์ในตลาดทุน ประกอบด้วย หุ้นสามัญ (ordinary shares) หุ้นบุริมสิทธิ (preferred shares) หุ้นกู้ (debentures) พันธบัตรรัฐบาล (government bond) หน่วยลงทุนของกองทุนรวม และใบสำคัญแสดงสิทธิ (warrants) เป็นต้น หน่วยงานที่ดูแลตลาดทุนคือคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535

การบริหารความเสี่ยง

ความเสี่ยง หมายถึง โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่า หรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคต และมีผลกระทบ หรือทำให้การดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กรทั้งในด้านยุทธศาสตร์ การปฏิบัติงาน การเงิน และการบริหาร ซึ่งอาจเป็นผลกระทบทางบวกด้วยก็ได้ โดยวัดจากผลกระทบ (impact) ที่ได้รับ และโอกาสที่จะเกิด (likelihood) ของเหตุการณ์ ความเสี่ยงจำแนกได้ 4 ลักษณะ ดังนี้

Strategic Risk   ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องในระดับยุทธศาสตร์
Operational Risk   ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องในระดับปฏิบัติการ
Financial Risk   ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับด้านการเงิน
Hazard Risk   ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องในด้านความปลอดภัย จากอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน
     (ธร สุนทรายุทธ, 2550, หน้า 152) ได้ให้ความหมายโดยสรุปว่า “ความเสี่ยง” คือเหตุการณ์หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน และส่งผลกระทบหรือสร้างความเสียหายหรือความล้มเหลว หรือลดโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ทั้งในระดับประเทศ ระดับองค์กร หรือหน่วยงานนั้น ๆ

     มีคำสองคำ ได้แก่ความเสี่ยง (risk) และความไม่แน่นอน (uncertainty) ส่วนมากจะถูกใช้ในความหมายเดียวกัน แต่ถ้าพิจารณาแล้วคำทั้งสองคำ มีความหมายแตกต่างกัน

     ความไม่แน่นอน หมายถึงความไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคตแน่  ในขณะที่คำว่าความเสี่ยง หมายถึง อัตราความไม่แน่นอนว่ามีมากน้อยเพียงใดถ้าการลงทุนใดมีความไม่แน่นอนในอัตราผลตอบแทนสูงความเสี่ยงก็จะสูง ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า “ความเสี่ยง คือ อัตราของความไม่แน่นอน” หรืออาจจะกล่าวรวม ๆ ว่า การบริหารจัดการที่ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ นั้น จะต้องมีความเสี่ยงที่แน่นอน (certainty risk) เกิดขึ้นสำหรับผู้บริหารอยู่เสมอ และจะต้องป้องกันหรือกำจัดความเสี่ยงเหล่านี้ออกไปให้ได้ ซึ่งเกิดขึ้นจาก

1. ความผิดพลาดบกพร่อง อันเกิดจากการปฏิบัติของมนุษย์
2. ความผิดพลาดบกพร่องอันเกิดจากการทำงานของเครื่องจักร
3. ความสามารถของมนุษย์มีขีดจำกัด
4. การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมการดำเนินงาน เนื่องจากเกิดการผันแปร เปลี่ยนแปลง ที่อาจส่งผลต่อความล้มเหลวได้

     อีกความเสี่ยงหนึ่งที่มีลักษณะไม่มีความแน่นอน (uncertainty risk) เป็นความเสี่ยงที่ไม่อาจหยั่งรู้ได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด เช่น ภัยธรรมชาติที่รุนแรง แผ่นดินไหว อุทกภัย โคลนถล่ม หรือสึนามิ ยากที่จะหยั่งรู้ว่าเกิดขึ้นเมื่อใดอีก ความเสี่ยงที่ไม่มีความแน่นอนอาจเกิดภัยจากน้ำมือมนุษย์ เช่น การทุจริต สิ่งต่าง ๆ ข้างต้นไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงประเภทใด ผู้บริหารย่อมตระหนักถึงความสำคัญ ต้องหาทางป้องกัน และหาทางควบคุมความเสี่ยงเหล่านั้น

     มหาวิทยาลัยไรซ์ (อ้างถึงใน ประกอบ กุลเกลี้ยง, 2550, หน้า 19) กล่าวว่า การบริหารความเสี่ยง คือกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการจัดเตรียมและการจัดหาเครื่องมือในการตัดสินใจที่จะช่วยลดผลร้าย หรือความสูญเสียขององค์กรให้น้อยลง การตัดสินใจทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องกับกระบวนการ 5 ขั้นตอน คือ
1. การระบุความสูญเสีย (identifying loss exposures)
2. การตรวจสอบทางเลือกของเทคนิคความเสี่ยง (examing alternative)
3. การเลือกเทคนิคการบริหารความเสี่ยงที่ดีที่สุด (the best risk management techniques)
4. การใช้เทคนิคการบริหารความเสี่ยงที่ดีที่สุด (the chosen risk management techniques)
5. การติดตามผล (monitoring)

     มหาวิทยาลัยคาร์เนจิก เมลลอน (อ้างถึงใน ประกอบ กุลเกลี้ยง, 2550, หน้า 19) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การบริหารความเสี่ยงมีการประยุกต์ใช้ในหลายสาขาวิชา เช่น สาขาสถิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ จิตวิทยา สังคมศาสตร์ ชีววิทยา วิศวกรรมศาสตร์ พิษวิทยา การวิเคราะห์ระบบ การวิจัยปฏิบัติการ และทฤษฎีการตัดสินใจ เรียกกันว่า “risk management”

     สรุปความหมายของการบริหารความเสี่ยง หมายถึง กระบวนการที่ใช้ในการบริหารจัดการให้โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยงลดลง หรือผลกระทบของความเสียหายจากเหตุการณ์ความเสี่ยงลดลงอยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ ซึ่งการจัดการความเสี่ยงมีหลายวิธี ดังนี้

1. การยอมรับความเสี่ยง (risk acceptance) เป็นการยอมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเนื่องจากความไม่คุ้มค่าในการจัดการควบคุมหรือป้องกันความเสี่ยง
2. การลด/การควบคุมความเสี่ยง (risk reduction) เป็นการปรับปรุงระบบการทำงาน หรือการออกแบบวิธีการทำงานใหม่ เพื่อลดโอกาสที่จะเกิด หรือลดผลกระทบ ให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้
3. การกระจายความเสี่ยง หรือโอนความเสี่ยง (risk sharing) เป็นการกระจายหรือถ่ายโอนความเสี่ยงให้ผู้อื่นช่วยแบ่งความรับผิดชอบไป
4. การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (risk avoidance) เป็นการจัดการกับความเสี่ยงที่อยู่ในระดับสูง และหน่วยงานไม่อาจยอมรับได้ จึงต้องตัดสินใจยกเลิกโครงการ/กิจกรรมนั้นไป (สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย, 2550)

     กล่าวโดยสรุป การบริหารความเสี่ยง หมายถึงกระบวนการในการลดความสูญเสีย ความล้มเหลวของหน่วยงาน ด้วยการค้นคว้าเทคนิคและวิธีการจัดการที่ดีที่สุดมาดำเนินการ เพื่อให้การดำเนินการมีระบบการเตือนภัย หรือการป้องกันความผิดพลาด หรือความเสี่ยงภัยล่วงหน้า

การระบุความเสี่ยง

 เป็นกระบวนการของการกระทำความเข้าใจที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในโครงการ และความรุนแรงของความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น การระบุความเสี่ยงเป็นการหาความเสี่ยงซึ่งมีโอกาสจะมีผลกระทบต่อโครงการ และการบันทึกเป็นเอกสารไว้ การระบุความเสี่ยงควรจะทำทั้งความเสี่ยงภายในและความเสี่ยงภายนอกโครงการ ความเสี่ยงภายในโครงการเป็นสิ่งที่ทีมงานโครงการสามารถควบคุมได้ เช่นการมอบหมายงานให้กับพนักงานการประมาณราคา ความเสี่ยงภายนอกโครงการเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของทีมงานโครงการ เช่นการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจการกระทำของรัฐบาลเป็นต้น


ข้อมูลที่ใช้สำหรับการระบุความเสี่ยง ได้แก่
1. แผนการจัดการความเสี่ยง
2. ผลลัพธ์ของการวางแผนโครงการการระบุความเสี่ยงต้องเข้าในวัตถุประสงค์เป้าหมาย ขอบเขต และวัตถุประสงค์ของเจ้าของโครงการหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ผลลัพธ์ของกระบวนการ ควรจะมีการทบทวนเพื่อระบุความเสี่ยงตลอดกระบวนการของโครงการ ผลลัพธ์ของกระบวนการ ได้แก่ สมาชิกของโครงการ โครงสร้างงานแผนงานและการประมาณราคา แผนการจัดซื้อจัดหาวัสดุอุปกรณ์
3. ประเภทของความเสี่ยง ปัจจัยความเสี่ยงซึ่งมีผลกระทบต่อโครงการจะถูกระบุและจัดกลุ่มเป็น 2 ประเภทหลักคือ   
    3.1. ความเสี่ยงภายในโครงการ ได้แก่ ความเสี่ยงเกี่ยวกับสัญญา ความเสี่ยงเกี่ยวกับแบบก่อสร้าง ความเสี่ยงฝ่ายเจ้าของ ความเสี่ยงฝ่ายที่ปรึกษา และความเสี่ยงฝ่ายผู้รับเหมา เป็นต้น
    3.2. ความเสี่ยงภายนอกโครงการ ได้แก่ ด้านการเงินและเศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย สภาพดินฟ้าอากาศเหตุสุดวิสัย เป็นต้น
4. ข้อมูลในอดีต ได้แก่
    4.1. ข้อมูลในอดีตจากโครงการที่ผ่านมาสามารถดูได้จากแฟ้มของโครงการ ซึ่งเป็นที่เก็บบันทึกผลของโครงการที่ผ่านมา ซึ่งสามารถใช้ระบุความเสี่ยงบันทึกดังกล่าว ได้แก่ รายงานของโครงการ หรือแผนการตอบสนองความเสี่ยง รวมทั้งบทเรียนในอดีตขององค์กร ซึ่งอธิบายปัญหาและวิธีแก้ไข หรือประสบการณ์ของผู้เกี่ยวข้องในโครงการ
    4.2. ข้อมูลจากสิ่งพิมพ์ ได้แก่ ฐานข้อมูลทางการค้า ข้อมูลจากสถาบัน การศึกษา และรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความเสี่ยง (สงวน ช้างฉัตร, 2547)

    การระบุเหตุการณ์ (event Identification) จากการพิจารณายุทธศาสตร์เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการรวมทั้งปัจจัยภายในและภายนอก สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดความเสี่ยงให้ครอบคลุมความเสี่ยงทุกประเภท ซึ่งจำแนกไว้ 4 ประเภท (กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2550) ดังนี้
   1. ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (strategic risk)
   2. ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (operational risk)
   3. ความเสี่ยงด้านการเงิน (financial risk)
   4. ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (compliance risk)

     จากการกำหนดความเสี่ยงของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการทั้ง 4 ด้านได้นำความเสี่ยงต่าง ๆ มาวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงได้ข้อสรุปเรียงลำดับ ดังนี้
1. ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (strategic risk)
    S 1 ผลงานวิจัยไม่ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม
    S 2 นโยบายเปลี่ยนแปลงตามผู้บริหารที่เปลี่ยนบ่อย
    S 3 โครงสร้างองค์กรใหม่ขาดความเป็นเอกภาพ
2. ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (operational risk)
    O1 การปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงภัย
    O2 ขั้นตอนการปฏิบัติงานเพิ่มมากขึ้น
    O3 ขาดการพัฒนาตนเอง
    O4 ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการปฏิบัติงานไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
    O5 ขาดผู้เชี่ยวชาญในการกำหนด TOR ทำให้การดำเนินการไม่เป็นไปตามแผน
    O6 การประสานงานระหว่างหน่วยงานในสังกัด สป. ขาดความคล่องตัว
    O7 การเชื่อมโยงระบบเครือข่ายขาดประสิทธิภาพ
    O8 ขาดความเข้มงวดในการรักษาความปลอดภัยของอาคารสถานที่
    O9 การจัดซื้อจัดจ้างล่าช้า
    O10 ขาดการบริหารสัญญาที่ดี
    O11 บุคลากรขาดความชำนาญเฉพาะด้าน
    O12 ขาดที่ปรึกษาเฉพาะด้าน
3. ความเสี่ยงด้านการเงิน (financial risk)
    F1 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณไม่ทันในปีงบประมาณ (งบประมาณถูกพับไป)
    F2 การพัฒนาระบบ GFMIS ยังไม่สมบูรณ์
    F3 ได้รับเงินงบประมาณไม่เพียงพอ
    F4 การใช้จ่ายเงินงบประมาณผิดประเภท/วัตถุประสงค์
    F5 ระบบการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ไม่สามารถป้องกันการสมยอมกันระหว่างผู้ขาย/ผู้รับจ้าง
    F6 ความผิดพลาดในการอนุมัติวงเงินเกินอำนาจ
    F7 ขาดความร่วมมือจากหน่วยงานในการจัดส่งรายงานการใช้จ่ายเงินงบประมาณอย่างสม่ำเสมอ
    F8 ทรัพย์สินของทางราชการสูญหาย
4. ความเสี่ยงด้านกฎระเบียบ (compliance risk)
    C1 ขาดการกำกับ ควบคุม การนำซอฟต์แวร์มาใช้
    C2 ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องกฎ ระเบียบ
    C3 ขาดการกำกับ ควบคุมการปฏิบัติตามระเบียบพัสดุ

    สำหรับการระบุความเสี่ยงของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยนั้น หมายถึง เหตุการณ์ หรือ การกระทำใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอน และจะส่งผลกระทบหรือสร้างความเสียหาย (อาจเป็นตัวเงินหรือไม่เป็นตัวเงิน) หรือก่อให้เกิดความล้มเหลว หรือโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายตามแผนการปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ. 2548-2551) ของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ทั้งในระดับหน่วยงาน โครงการ/กิจกรรม และในระดับองค์กร ทั้งนี้สามารถจำแนกความเสี่ยงได้เป็น 4 ลักษณะ ดังนี้
1. Strategic Risk ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องในระดับยุทธศาสตร์ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ กฎหมาย ตลาด ภาพลักษณ์ ผู้นำ ชื่อเสียง ลูกค้า เป็นต้น
2. Operational Risk ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องในระดับปฏิบัติการ เช่น กระบวนการทางเทคโนโลยี และคนในองค์กร เป็นต้น
3. Financial Risk ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเงิน เช่น ข้อมูลเอกสารหลักฐานทางการเงิน และการรายงานทางการเงินบัญชี เป็นต้น
4. Hazard Risk ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับด้านปลอดภัยจากอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน เช่น การสูญเสียทางชีวิตและทรัพย์สินจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ การก่อการร้าย อุบัติเหตุ หรือสถานการณ์ที่อยู่นอกเหนือการควบคุม เป็นต้น

    การระบุความเสี่ยงเป็นกระบวนการที่ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน ร่วมกันระบุความเสี่ยงและปัจจัยเสี่ยง ที่เกี่ยวข้อง โครงการ/กิจกรรม เพื่อให้ทราบถึงเหตุการณ์ที่เป็นความเสี่ยง ที่อาจมีผลกระทบต่อการบรรลุสำเร็จตามวัตถุประสงค์ โดยต้องคำนึงถึง
1. สภาพแวดล้อมภายนอกหน่วยงานและกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานและกระทรวงมหาดไทย เช่น นโยบายภาครัฐ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
2. สภาพแวดล้อมภายในหน่วยงานและกระทรวงมหาดไทย เช่น รูปแบบการบริหารสั่งการ การมอบหมายอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ โครงสร้างองค์กร ระเบียบข้อบังคับภายใน

    วิธีการและเทคนิคการระบุความเสี่ยง มีหลายวิธีซึ่งแต่ละหน่วยงานอาจเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม ดังนี้
1. การระบุความเสี่ยงโดยการรวมกลุ่มระดมสมอง เพื่อให้ได้ความเสี่ยงที่หลากหลาย
2. การระบุความเสี่ยงโดยการใช้ checklist ในกรณีที่มีข้อจำกัดด้านงบประมาณและทรัพยากร
3. การระบุความเสี่ยงโดยการวิเคราะห์สถานการณ์จากการตั้งคำถาม “what-if”
4. การระบุความเสี่ยงโดยการวิเคราะห์ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ในแต่ละขั้นตอนที่สำคัญ     กล่าวโดยสรุป ความเสี่ยงมีสาเหตุมาจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอก ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน ในการระบุปัจจัยเสี่ยง จะต้องพิจารณาโดยคำนึงว่ามีเหตุการณ์หรือกิจกรรมใดของกระบวนการที่อาจก่อให้เกิดความผิดพลาดเสียหาย ทำให้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ควรประกอบด้วยความเสี่ยงที่ครอบคลุมในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ความเสี่ยงด้านงบการเงินและงบประมาณ
2. ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์
3. ความเสี่ยงด้านนโยบาย
4. ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน
5. ความเสี่ยงจากเหตุการณ์ภายนอก

    หน่วยงานสามารถที่จะพิจารณาความเสี่ยงหรือปัจจัยเสี่ยง และโอกาสทั้งหมดที่เป็นไปได้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายขององค์กร แผนงาน/งาน/โครงการ/กิจกรรม หรือตัวชี้วัด ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ เช่น มาจากการประชุมปรึกษาหารือร่วมกันของคณะกรรมการหรือคณะทำงาน หรือจากการระดมความคิดของผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง จากการตรวจสอบหรือตรวจติดตาม การวิเคราะห์ SWOT การสัมภาษณ์หรือแบบสอบถาม เป็นต้น และหากพบว่ามีความเสี่ยงหรือปัจจัยเสี่ยงเป็นจำนวนมากหรือมีความซ้ำซ้อนกัน ควรพิจารณาจัดทำหมวดหมู่ของความเสี่ยงหรือปัจจัยเสี่ยงเพื่อความสะดวกในการดำเนินการบริหารจัดการต่อไป
สินค้าคงคลัง คือ สินค้าที่เราผลิตหรือสั่งซื้อเพื่อนำมาจัดจำหน่าย การจัดการสินค้าคงคลังเป็นสิ่งสำคัญต่อการให้บริการลูกค้าเพื่อให้สินค้ามีอยู่ตลอดเวลาเมื่อลูกค้าต้องการจะซื้อ แต่ในทางกลับกันก็สามารถทำให้เกิดต้นทุนสูงในการดำเนินการดังนั้น หลายองค์กรเริ่มมองเห็นปัญหาเหล่านี้ จึงมีการคิดหาวิธีต่างๆ เพื่อช่วยลดต้นทุนการจัดเก็บสินค้าคงคลังในระบบซัพพลายเชน (ห่วงโซ่อุปทาน)
       การจัดการสินค้าคงคลังอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการทำให้เกิดสมดุลระหว่างสินค้าและระดับความพึงพอใจของลูกค้า เช่นการตอบสนองต่อการสั่ง ซื้อของลูกค้า (order fill rates) แต่ทั้งนี้ความเสี่ยงต่างๆที่เกิดจากการบริหารสินค้าคงคลัง อาจเป็นการเก็บสต๊อกไว้มากเกินไป และสินค้าทมีอยู่ไม่ใช่สินค้าที่ลูกค้าต้องการซื้อจริงๆ ก็ทำให้สภาพคล่องทางการเงินชะงักได้ หรืออีกทางหนึ่งคือสูญเสียรายได้จากการที่สินค้าที่ต้องการไม่มีขายในบทความนี้ จะยกตัวอย่างที่สามารถนำไปปฏิบัติจริงเพื่อช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล และประสานงานในหน่วยงานให้เกิดประสิทธิภาพของระบบซัพพลายเชน ดังต่อไปนี้
             1. การกำจัดสินค้า dead stock (สินค้าที่ไม่เคลื่อนไหวเป็นเวลามากกว่า 6 เดือน) และสินค้า slow moving (สินค้าที่ถูกขายออกไปช้า อาจจะเดือนละครั้ง หรือ สองเดือนครั้ง เป็นต้น) ซึ่งการจัดการลดกลุ่มสินค้าเหล่านี้เป็นการช่วยลดต้นทุนทั้งในคลังสินค้า (warehousing) การจัดดำเนินการสินค้าในคลัง (handling) การขนส่ง (transportation) เช่น สินค้าที่ไม่เคลื่อนไหว หรือเคลื่อนไหวช้า ทำให้เปลืองพืนที่จัดเก็บ และการดูแลสินค้าในคลัง อีกทั้งค่าขนส่งต่อรายการเมื่อมีการสั่งซื้อจากลูกค้า อาจทำให้ไม่คุ้มกับการส่ง เมื่อเทียบสัดส่วนปริมาณสั่ง ซื้อต่อค่าจัดส่ง(กรณีใช้ third party logistics ส่วนใหญ่จะคิดค่าบริการตามจำนวนกล่องที่จัดส่ง โดยจะส่งตามรอบและเส้นทางที่กำหนดไว้ก่อนหน้านี้)
             2. การทำ ABC analysis (80/20 rule) สำหรับสต๊อกสินค้า หมายถึง การวิเคราะห์ดูว่า 80% ของรายได้มาจากการขายสินค้าเพียง 20% ของสินค้ารวมทั้งหมด ซึ่งในทางกลับกันสินค้าอีก 80% อาจทำรายได้ให้กับบริษัทเพียง 20% เท่านั้น
                  - สินค้ากลุ่ม A ถือเป็นสินค้าหลักที่เคลื่อนไหวเร็ว เป็นที่ต้องการของลูกค้า แต่การทำรายงาน ABC analysis นั้นไม่ใช่หมายความว่า เราจะต้องซื้อสินค้ากลุ่ม A ไว้ให้มากเพราะถือว่ายังไงก็ขายได้ ที่ถูกต้องในการบริหารกลุ่มสินค้านี้ คือการเก็บสินค้าให้สมดุลกับระยะเวลาในการสั่ง ซื้อ หรือ ผลิต จนถึงความพร้อมที่จะมีสินค้าเหล่านั้นในสต๊อก และจัดการระบบการเติมสต๊อกให้ถี่ขึ้น (ทังนี้เพื่อระวังว่า สินค้าบางรายการอาจจะกลายเป็นสินค้าที่ไม่นิยมในช่วงระยะต่อมา)
                  - สินค้ากลุ่ม B ถือเป็นสินค้าที่มีความนิยมระดับกลาง ควรจะจัดการระบบการเติมสต๊อกให้น้อยกว่าสินค้ากลุ่มแรก เพื่อไม่ให้มีสินค้าคงคลังมากเกินความจำเป็น
                  - สินค้ากลุ่ม C เป็นสินค้าที่มักจะมีทั้งรายการ (item) และจำนวน (quantity) มากในคลังสินค้า เพราะเกิดจากการที่สินค้าขายไม่ออก หรือหมดความนิยมในตลาด ซึ่งการขจัดสินค้าเหล่านี้ มีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องได้รับความร่วมมือจากฝ่ายการตลาด และฝ่ายขาย เพื่อกำหนดสินค้าเหล่านี้ว่า จะยกเลิกการผลิตหรือสั่งซื้อเมื่อหมดสต๊อก เพราะต้องให้ลูกค้าที่เคยใช้สินค้ารับทราบ เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดว่า สินค้าขาดสต๊อก เป็นต้น
             3. การบริหารจัดการสินค้าคงคลังฝั่งผู้ผลิต (Vendor managed inventory systems) คือ การจัดระบบการซื้อสินค้าโดยการทำข้อตกลงกับคู่ค้าหรือผู้ผลิต ทำให้คู่ค้าสามารถทำการอัพเดตข้อมูล และทราบความต้องการของลูกค้าร่วมกัน โดยที่ผู้ผลิตสามารถตรวจสอบยอดขายของแต่ละสาขา และ จัดส่งสินค้าเพื่อเติมสต๊อกให้ทันเวลา และที่สำคัญ เป็นการเน้นความรับผิดชอบของต่อคู่ค้า หรือแม้แต่ฝ่ายจัดหาวัตถุดิบ สามารถเตรียมวัตถุดิบให้เพียงพอต่อการผลิตเมื่อได้รับรายการสั่ง ซื้อ เทคนิคการทำงานระหว่างองค์กรวางแผนพยากรณ์ร่วมกัน และการเติมเต็มสินค้า (CPFR : Collaborative Planning, Forecasting and Replenishment) จึงมีความสำคัญในขั้นตอนนี้ แต่การใช้วิธีการนี้ จะต้องมีการลงทุนในด้านระบบสารสนเทศ ระบบ Electronic Data Interchange (EDI) มาใช้ เป็นต้น เพื่อให้ระบบดำเนินการอย่างมีประสิทธผล

การจัดการการเงิน