การจัดการการตลาดแนวใหม่

Custom Search
วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

การวิเคราะห์งบการเงินด้วยอัตราส่วนทางการเงิน

การวิเคราะห์งบการเงิน ที่เป็นพิ้นฐานและง่ายต่อการวิเคราะห์มากที่สุดก็คือการใช้อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratios) ในการวิเคราะห์งบการเงิน ซึงการใช้อัตราส่วนในการวิเคราะห์งบการเงินนั้น เป็นลักษณะของการหาสัมพันธ์ระหว่างรายการทางการเงิน ที่ปรากฏอยู่ในงบการเงินตั้งแต่ 2 จำนวนขึ้นไป ซึ่งอัตราส่วนที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์นั้นมีอยู้มากมายหลายอัตราส่วน และมีการแบ่งออกเป็นหมวดต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อความสามารถในการแปลความหมายและการวิเคราะห์สุขภาพทางการเงินของธุรกิจ เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น การอธิบายเกี่ยวกับอัตราส่วนทางการเงินประเภทต่าง ๆ จะขออธิบายพร้อมคำนวณประกอบจากตัวอย่างการวิเคราะห์งบการเงินของบริษัท ศรีพัฒนา จำกัด ดังแสดงละเอียดของงบการเงินข้างล่างนี้ นอกจากนี้ในการวิเคราะหจะใช้วิธีการเปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงินของปีปัจจุบันเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา
บริษัท รัตนา จำกัด
งบดุลเปรียบเทียบ
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 และ 2542
หน่วย : พันบาท

2543 2542
สินทรัพย์
สินทรัพย์หมุนเวียน:
เงินสด 30.0 35.0
ลูกหนี้ 20.0 15.0
หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด 20.0 15.0
สินค้าคงเหลือ 50.0 45.0
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 120.0 110.0
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (สุทธิ) 100.0 90.0
รวมสินทรัพย์ 220.0 200.0
หนี้สิน
หนี้สินหมุนเวียน 55.4 50.0
หนี้สินระยะยาว 80.0 75.0
รวมหนี้สิน 135.4 125.0
ส่วนของผู้ถือหุ้น
หุ้นสามัญ ( 4,500 หุ้น ราคาตราไว้ 10 บาท) 45.0 45.0
กำไรสะสม 39.6 30.0
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 84.6 75.0
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 220.0 200.0


บริษัท รัตนา จำกัด
งบกำไรขาดทุนเปรียบเทียบ
สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2543 และ 2542
( หน่วย : พันบาท)


2543 2542
ขาย 100.0 110.0
หัก รับคืนและส่วนลดรับ 20.0 80.0
ขายสุทธิ 80.0 102.0
หัก ต้นทุนขาย 50.0 60.0
กำไรขั้นต้น 30.0 42.0
หัก ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน:
ค่าใช้จ่ายในการขาย 11.0 13.0
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 4.0 7.0
รวมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 15.0 20.0
กำไรจากการดำเนินงาน 15.0 22.0
บวก รายได้อื่น ๆ 3.0 0.0
กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี 18.0 22.0
หัก ดอกเบี้ยจ่าย 2.0 2.0
กำไรก่อนภาษี 16.0 20.0
หัก ภาษีเงินได้ (40%) 6.4 8.0
กำไรสุทธิ 9.6 2.0

อัตราส่วนวัดสภาพคล่อง (Liquidity Ratios)

สภาพคล่องของกิจการเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นถึงความสามรถของกิจการในการเปลี่ยนสินทรัพย์ที่ไม่ใช่เงินสดมาเป้นเงินร
สด หรือสามารถทึ่จะมีเงินสดไว้ชำระหนี้ให้แก่หนี้สินระยะสั้นได้ทันทีที่ต้องการ การวัดสภาพคล่องของกิจการหรือธุรกิจเป็นการวัดในระยะสั้นเท่านั้น ซึ่งโดยทั่ว ๆ ไป ก็จะไม่เกิน 1 ปี หรืออาจจะน้อยกว่านั้น ร่ายละเอียดเกี่ยวกับอัตราส่วนทางการเงินต่าง ๆ ที่จะใช้วัดสภาพคล่องนั้นก็จะประกอบไปด้วย

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การจัดการการเงิน